“โรงเรียนมีมาตรฐานสากล ผู้เรียนมีคุณภาพ
ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
คำอธิบาย
๑. โรงเรียนมีมาตรฐานสากล หมายถึง โรงเรียนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา ยกระดับ
คุณภาพจัดการเรียนการสอนและการจัดการด้วยระบบคุณภาพ เป็นโรงเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากภายนอกเป็นโรงเรียน เน้นการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี ผู้เรียนมีทักษะที่เป็นสากลได้แก่ ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะในการสื่อสาร มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความรู้เกี่ยวกับประเทศในประชาคมอาเซียน
๒. ผู้เรียนมีคุณภาพ หมายถึง ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีมีสุนทรียภาพ มีทักษะการเล่นกีฬา ๑ คน ต่อ ๑ ชนิดกีฬา ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานและมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
มีพื้นฐานอาชีพ ๑ คน ๑ อาชีพ
๓. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง นักเรียนมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน
ปรัชญาของโรงเรียน
อาวุ เธน เอว ปัญญา หมายถึง ปัญญาประดุจดังอาวุธ
พันธกิจของโรงเรียน
๑. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลโลกมีมาตรฐานในระดับสากล
๒. ส่งเสริมผู้เรียนให้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์บนพื้นฐานความเป็นไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพทักษะกระบวนการในทุกด้านสู่มาตรฐานสากล
๔. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในสถานศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕. บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
ค่านิยมของโรงเรียน
องค์กรแห่งการเรียนรู้ ควบคู่เทคโนโลยี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์หลักของโรงเรียน
๑. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษา บนพื้นฐาน
ความเป็นไทย น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มึความเป็นเลิศวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโลก
๒. ครูมีคุณภาพทางวิชาการตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณครู มีศักยภาพในการใช้การ
วิจัย สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับหลักสูตรการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
๓. โรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรทางการศึกษาเทียบเคียงมาตรฐานสากลด้วยระบบคุณภาพ
๔. โรงเรียนสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้มีคุณภาพเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน
และนำเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมมาใช้ในสถานศึกษาเพื่อการบริหารจัด
๕. โรงเรียนมีเครือข่ายร่วมพัฒนา โดยการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ชุมชน สถาบันอุดมศึกษาและ
องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาโรงเรียน
๖. สถานศึกษามีอัตลักษณ์ของสถานศึกษาที่โดดเด่น
๗. สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์ของโรงเรียน
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและมีสมรรถนะที่เป็นสากล
กลยุทธ์ที่ ๒ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สำนึกความเป็นไทยและวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เทียบเคียงมาตรฐานสากล
กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ ๖ เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเครือข่ายการพัฒนา ชุมชน สังคม
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและมีสมรรถนะที่เป็นสากล
๑) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียนได้ โดยสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เหมาะสมตามระดับชั้นในระดับดีเยี่ยม
๒) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในด้านการคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
๓) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อย่างเหมาะสมปลอดภัยมีประสิทธิภาพ
๔) เสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ ตอบสนองต่อความถนัดและศักยภาพตาม ความต้องการของนักเรียน
๕) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติพัฒนาการสูงขึ้น หรือคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายระดับชั้น
๖) ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถ ความถนัดเฉพาะทางเป็นที่ประจักษ์สามารถแข่งขันในระดับชาติ
กลยุทธ์ที่ ๒ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สำนึกความเป็นไทยและวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
๑) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสังคม และจิตสำนึกตาม ที่สถานศึกษากำหนดปรากฏชัดเจนโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
๒) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นในความเป็นไทย และเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
๓) ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์บนพื้นฐานการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เทียบเคียงมาตรฐานสากล
๑) มีหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
๒) สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดไว้ตรงกับวัตถุประสงค์ของแผน
การศึกษาชาติและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นอย่างชัดเจน
๓) ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีที่ เหมาะสมต่อการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
๑) ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตร ตลอดจนเป็นผู้นําในการ ปฏิรูปการศึกษาและผู้นําเพื่อรองรับการกระจายอํานาจตามแนวทางโรงเรียนนิติบุคคล
๒) ส่งเสริม สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ
๓) พัฒนาครูผู้สอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อใช้ ระบบ e-Learning, ICT และภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนการสอน
๔) ส่งเสริมพัฒนา บุคลากรให้มีขวัญกําลังใจ มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างมี คุณภาพเป็นตัวอย่างที่ดีต่อชุมชน สามารถชี้นําชุมชนได้
๕) ส่งเสริมให้บุคลากรนําความรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ ของท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบคุณภาพ
๑) ผู้บริหารบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
๒) มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ที่สามารถนำโรงเรียนสู่การเป็นมาตรฐานสากล
๓) โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และทรัพยากรระหว่างเครือข่าย โรงเรียนร่วมพัฒนา
๔) โรงเรียนมีการบริหารด้านบุคลากรอย่างมีอิสระและคล่องตัว โดยสามารถกำหนดอัตรากำลัง สรรหา บรรจุ จัดจ้าง ส่งเสริม และพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
๕) โรงเรียนสามารถแสวงหาระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่พัฒนาความเป็นเลิศในการจัดการศึกษา โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัวตามสภาพความต้องการและความจำเป็น
๖) ส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการ และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
กลยุทธ์ที่ ๖ เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเครือข่ายการพัฒนา ชุมชน สังคม
๑) ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
๒) โรงเรียนมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบความเร็วสูงเชื่อมโยงครอบคลุมพื้นที่ของโรงเรียน
๓) โรงเรียนมีห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ จัดให้มีหนังสือ / ตําราเรียนที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียนอย่างเพียงพอและจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศเอื้อต่อการใช้บริการ มีสื่อที่พอเพียงเหมาะสมทันสมัย มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้และการค้นคว้าอย่างหลากหลาย
๔) สถานศึกษาจัดวางระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน อย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
๕) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของ
สถานศึกษาเป็นอย่างดี
๖) โรงเรียนสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง