ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนโดย นายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ จัดการเรียนการสอนประเภทสหศึกษา สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๗ ผู้บริหารโรงเรียนคนแรกคือนายเรืองศิลป์ สิริสุวลักษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่  โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม ต่อมาเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ .๒๕๒๗  กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งนายวสินัย เสร็จวัฒนารักษ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก จำนวนนักเรียนที่เปิดสอนในปีแรก มีจำนวน ๓ ห้องเรียน ๑๕๑ คน สถานที่เรียนครั้งแรกได้อาศัยศาลาวัด วัดราษฎร์ศรัทธาธารและหอประชุมโรงเรียนบ้าน ก.ม.ศูนย์ เป็นสถานที่เรียนในช่วงแรกได้รับ  ความอนุเคราะห์ ครู-อาจารย์จากโรงเรียนพุทไธสง จำนวน ๕ คน มาทำการสอนนักเรียนไปพลาง ๆ ก่อน ต่อมากรมสามัญศึกษา ได้บรรจุ ครู-อาจารย์ จำนวน ๖ คน มาปฏิบัติหน้าที่ในการเรียนการสอนนักเรียนเป็นการถาวร ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ และได้ย้ายมาจัดตั้งโรงเรียนในที่ดินสาธารณประโยชน์  จำนวน ๘๘ ไร่ ๒ งาน ๔๒ ตารางวา บริเวณทิศตะวันออกของโบราณสถานปรางค์กู่สวนแตง จนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๑๐๔/๒๗ ,บ้านพักครูโสด ,บ้านพักนักการภารโรงแบบไม้ และห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน
ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ๒ ชั้น แบบ ๒๐๘ ล. (อาคาร ๑) และบ้านพักครู ๑ หลัง
ปี พ.ศ.๒๕๓๐ โรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น กรมสามัญศึกษา โดยนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนจะได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียนจึงทำให้      มีจำนวนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ๒ ชั้น แบบ ๑๐๘ ล. (อาคาร ๒) และบ้านพักครู ๑ หลัง
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับงบประมาณก่อสร้างต่อเติมอาคารโรงฝึกงานและห้องน้ำห้องส้วม
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ โรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม จากอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา  จากอำเภอกู่สวนแตงพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ จากอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น เข้ามาศึกษาเล่าเรียนอย่างต่อเนื่อง
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานและบ้านพักครู
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ๔ ชั้น แบบ๔๒๔ ล. พิเศษ (อาคาร ๓) และอาคารหอประชุม แบบ ๑๐๐/๒๗ , บ้านพักนักเรียนและห้องน้ำห้องส้วม
วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๗ โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคมได้ย้ายมาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๔ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๕๔ โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม ได้ยายมาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปัจจุบันโรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๖ หมู่ที่ ๑ หมู่บ้าน ก.ม.ศูนย์                           ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ ๓๑๑๒๐  โทรศัพท์. ๐๔๔-๖๕๐๓๑๖  โทรสาร. ๐๔๔-๖๕๐๓๑๖ E-mail Address : [email protected]  Website : http://www.kspk.ac.th  เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖  มีเขตพื้นที่บริการการศึกษา จำนวนเขตบริการ ๕ ตำบล ๕๕ หมู่บ้าน ดังนี้
ตำบลหนองแวง          จำนวน      ๑๕  หมู่บ้าน
ตำบลทองหลาง          จำนวน      ๑๐ หมูบ้าน
ตำบลกู่สวนแตง          จำนวน      ๑๒  หมู่บ้าน
ตำบลแดงใหญ่           จำนวน       ๙  หมู่บ้าน
ตำบลหนองเยือง         จำนวน       ๙  หมู่บ้าน


                                                       รายนามผู้บริหารโรงเรียนตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน
 
                       ชื่อ-สกุล                                                         ปีที่รับตำแหน่ง
1. นายเรืองศิลป์  ศิริสุวลักษณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทไธสง
รักษาการครูใหญ่
 มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗   ถึง มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗
2. นายวสินัย  เสร็จวัฒนารักษ์
 ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๗   ถึง   ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑
3. นายเลิศ  นพไธสง
 ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑     ถึง   ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๕
4. นายสมศักดิ์  สุนทรสุข
 ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๕   ถึง   ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖
5. นายมาโนช  นาคสมบูรณ์
 ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖   ถึง   ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐
6. นายเต็มร้อย  พุทธิรงควัตร
 ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐   ถึง   ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๑
7. นายสุกูลเวช  ดิษฐ์รอด
 ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๑   ถึง   ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖
8. นายฉลอง (ธรรมรัฐ)  พงศ์นราทร
 ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖   ถึง   ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓
9. นายฉลอง  งามคง
 ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔   ถึง   ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗
10. นายมานัส  เวียงวิเศษ
 ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗   ถึง   ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙
11. นายศักดิ์  ซารัมย์
 ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙   ถึง   ปัจจุบัน
 
 
สภาพปัจจุบัน
 
สภาพทั่วไป
โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์   ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์   ห่างจากทางจังหวัดประมาณ  ๗๔  กิโลเมตร   มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอ/จังหวัดข้างเคียงดังนี้
 
ทิศเหนือ                 ติดต่อกับอำเภอหนองสองห้อง   จังหวัดขอนแก่น
ทิศใต้                      ติดต่อกับอำเภอประทาย  จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก             ติดต่อกับอำเภอเมืองยาง   จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก              ติดต่อกับอำเภอประทาย  จังหวัดนครราชสีมา
 
 
 ที่ตั้ง/ขนาด
โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๖ หมู่ที่ ๑ หมู่บ้าน ก.ม.ศูนย์  ถนนอรุณประเสริฐ  ตำบลหนองแวง  อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์  จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ไชยพจน์     ห่างจากเทศบาล  ๓  กิโลเมตร  มีเนื้อที่จำนวน ๘๘ ไร่ ๒ งาน ๔๒ ตารางวา   มีอาณาเขตติดต่อพื้นที่ข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ                  ติดต่อเขตพื้นที่บ้าน กม.ศูนย์  ตำบลหนองแวง
ทิศตะวันออก             ติดต่อเขตพื้นที่บ้านหนองแวง  ตำบลหนองแวง
ทิศตะวันตก              ติดต่อเขตพื้นที่ของปรางค์กู่สวนแตงและวัดกู่สวนแตง
ทิศใต้                     ติดต่อเขตพื้นที่บ้านดงยาง  ตำบลกู่สวนแตง
 
ลักษณะภูมิประเทศ    
สภาพทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีลักษณะภูมิอากาศทั่วไปเป็นแบบมรสุม  ๓  ฤดู คือ ฤดูฝน                    ฤดูหนาวและฤดูร้อน  พื้นที่และการใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์  ใช้สำหรับทำนา  และทำการเกษตร
 
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนมีอาคารทั้งสิ้น ๗ หลัง แบ่งออกเป็นอาคารเรียน ๓ หลัง อาคารประกอบ ๔ หลัง ห้องปฏิบัติการ ๑๔ ห้อง แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องปฏิบัติการต่างๆ ลานพระพุทธรูป สนามกีฬา สระน้ำของโรงเรียน เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ โบราณสถานปรางค์กู่สวนแตง ปรางค์กู่ฤๅษี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในอำเภอทั้ง ๖ แห่ง สถานที่ราชการภายในอำเภอทุกส่วนราชการ และสถานประกอบการของเอกชน เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรกรรมและหัตถกรรม เช่น การทอผ้าไหม การทอเสื่อ การจักสาน เป็นต้น
 
สภาพชุมชนโดยรวม
     จำนวนประชากรที่อยู่ในเขตบริเวณของโรงเรียนมีจำนวน ๒๗,๑๑๒  คน ๖,๑๙๒ ครัวเรือน           ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา) รายได้โดยเฉลี่ยต่อคนต่อปี คือ ๓๑,๕๒๐  บาท ชุมชนที่อยู่โดยรอบโรงเรียนมีลักษณะชุมชนชนบทกึ่งเมือง มีความสัมพันธ์กับโรงเรียนในระดับดี โดยโรงเรียนได้ให้บริการอาคารสถานที่ต่อชุมชนในการจัดกิจกรรมด้านต่างๆ เช่นการประชุม อบรม สัมมนา การจัดการการแข่งขันกีฬา การให้สถานที่จัดสอบนักศึกษานอกโรงเรียน การจัดงานประเพณีประจำปีปรางค์กู่สวนแตงพิทยาคม และการให้ความอนุเคราะห์บุคลากรเข้าไปช่วยเหลืองานของชุมชนทั้งส่วนราชการและองค์กรเอกชน และชุมชนได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือกับทางโรงเรียนเป็นอย่างดียิ่ง เช่นการแจ้งข้อมูลเสนอแนะโดยผ่านทางคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน การดูแลรักษาความปลอดภัยและรักษาทรัพย์สินของทางโรงเรียนเป็นอย่างดียิ่ง การช่วยเหลือสนับสนุนเงินเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อนักเรียน ฯลฯ
 
  
สถานที่สำคัญ    
  1. ปรางค์กู่สวนแตง บ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
  2. ปรางค์กู่ฤาษี บ้านกู่ฤาษี ตำบลหนองเยือง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์